หน้าที่ของผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

ประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากผู้รับเงิน ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจึงมีหน้าที่ปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ทุกคราว ในทันทีที่มีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดให้ถูกต้องครบถ้วน
2. ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายมีหน้าที่ยื่นแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแล้วแต่กรณี ตามแบบอธิบดีกรมสรรพากรได้กำหนด พร้อมทั้งนำส่งเงินภาษีภายในเวลาและสถานที่ที่ประมวลรัษฎากรกำหนดไม่ว่าผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจะได้หักภาษีเงินได้ไว้แล้วหรือไม่ก็ตาม ได้แก่
2.1 ภ.ง.ด.1
2.2 ภ.ง.ด.2
2.3 ภ.ง.ด.3
2.4 ภ.ง.ด.53
2.5 ภ.ง.ด.54
3. ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายต้องยื่นแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย แล้วแต่กรณี ตามแบบอธิบดีกำหนด โดยการสรุปการจ่ายเงินได้และจำนวนเงินภาษีที่ได้นำส่งไว้ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในเวลาและสถานที่กฎหมายกำหนด ได้แก่
3.1 ภ.ง.ด.1 ก.
3.2 ภ.ง.ด.1 ก. พิเศษ
3.3 ภ.ง.ด.2 ก.
3.4 ภ.ง.ด.3 ก.
4. จัดทำแบบแจ้งข้อความและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้มีเงินได้ที่เป็นคนต่างด้าว มีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่อธิบดีกำหนด โดยยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.2 หรือ ภ.ง.ด.3 แล้วแต่กรณี
5. ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามแบบที่อธิบดีกำหนดแสดงรายการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ได้หักไว้แล้วในปีภาษี ให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 2 ฉบับ มีข้อความตรงกัน ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
6. จัดทำบัญชีพิเศษแสดงรายการหักภาษี ณ ที่จ่ายและการนำส่งภาษีมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่อธิบดีกำหนด
7. จัดทำแบบแจ้งข้อความเกี่ยวกับเงินได้ของบริษัทจำกัดผู้รับเงินปันผลมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่อธิบดีกำหนด ยื่นพร้อมแบบ ภ.ง.ด.53
8. มีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร โดยผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจะต้องกรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตนเองและของผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในแบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย และหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย

ข้อที่ 2 ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
ตามประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้ “ผู้รับเงิน” จะต้องถูกผู้จ่ายเงินหักภาษี ณ ที่จ่ายตามที่กำหนดในประมวลรัษฎากร ซึ่งผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายที่เป็นผู้รับเงินหมายถึง
1.บุคคลธรรมดา
2.นิติบุคคล
อย่างไรก็ดีมีการจ่ายเงินบางกรณีที่ประมวลรัษฎากรยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย